วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คู่มือดับทุกข์ ฉบับสมบูรณ์ โดย ท่านอิสระ ตอนที่ ๓

 

คู่มือดับทุกข์ตอนที่ ๓

๒๑.  จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า "อนิจจัง" ซึ่งแปลว่า ความไม่เที่ยงแท้  สิ่งที่มีเหตุปัจจัย ปรุงแต่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยงทั้งนั้น  ความเปลี่ยนแปลงจากดีไปเป็นเลว เปลี่ยนตากึวามสมหวังไปเป็นความผิดหวัง ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นเพราะความเป็นของไม่เที่ยงของมันนั่นเอง ดังนั้นจงอย่าเป็นทุกข์เศร้าโศกไปกับเรื่องดีร้ายได้เสียที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่จงรู้จักมันว่า มันเป็นอย่างนี้เอง มันไม่เที่งแก้แน่นอนเลยสักสิ่งเดียว  ถ้าท่านรู้อย่างนี้ด้วยความสงบของสมาธิ  จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์เลย

๒๒.  จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า ''ทุกขัง" ซึ่งแปลว่า ความเป็นทุกข์ จงจำไว้ว่า ชีวิตของคนเรานั่นล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ด้วยกันทังนั้น ลักษณะของความทุกข์นั้นได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความอาลัยอาวรณ์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความที่ได้รับสิ่งที่ไม่ปราถนา ความพลัดพรากจากคนรักหรือของรัก และความผิดหวัง เหล่านี้แหละคือความทุกข์ที่คนทุกชาติทุกภาษาในโลกนี้กำลังประสบอยู่

๒๓.  จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า "อนัตตา" ซึ่งแปลว่า ความไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา หรือความปราศจากแก่นสารที่ยั่งยืนถาวร ข้อที่ว่า สิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนแก่นสารที่ถาวรนั้น หมายความว่า สิ่งหล่านั้นมันจะมีอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะนานหรือไม่นานก็แล้วแต่เหตุการณ์ของมันเท่านั้นเอง มันไม่มีสิ่งใดจะคงอยู่ในโลกนี้ได้ตลอดไป  ดังนั้น ตัวตนที่เป็นของยั่งยืนกถาวรของมันจึงไม่มีซึ่งสิ่งเหล่านั้น มันหมายรวมทั้งร่างกายจิตใจของเราทุกคนด้วย

๒๔.  เมื่อทุุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยง ชวนแต่จะทำให้เราเป็นทุกข์กับมัน และไม่ใช่สิ่งที่เป็นแก่นสารถาวรเช่นนั้นแล้ว เราจะมัวไปหลงไหลอยากได้อยากเป็นอะไรในมันให้มากเรื่องไปโดยเปล่าประโยชน์อีกเล่า?

๒๕.  ในการฝึกสมาธินั้น ให้แบ่งเวลาออกเป็น ๒ ช่วง คือช่วงแรก ต้องกำหนดจิตให้สงบ ไม่าต้องคิดเรื่องอะไร ช่วงที่ ๒ จึงอาศัยจิตที่สงบเป็นตัวพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบ



๒๖.  พอครบเวลาที่กำหนดไว้แล้ว เมื่อจะเลิกนั่งสมาธิ ก็ให้ตั้งความรู้สึกไว้ว่า ต่อจากนี้ไปท่านจมีสติพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการพิจารณานั้น ท่านจะพิจารณา ให้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่ตกอยู่ในภายใต้กฏแห่งความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีแก่นสารถาวรทั้งสิ้น หรือกฏแห่งกรรม

๒๗.  จงเตือนตัวเองว่า ทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลงมันไม่เที่ยงแท้แน่นอน มันจะเกิดเรื่องดีที่ถูกใจเราเมื่อไหร่ก็ได้ หรือมันจะเกิดเรื่องไม่ดีและขัดใจเราเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยง ดังนั้นเราจึงต้องทำจิตให้พร้อมรับสถานการณ์เหล่านั้นอยู่เสมอ โดยไม่ต้องดีใจหรือเสียใจไปกับเรื่องหล่านั้น

๒๘.  จงพยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ หมายความว่า ท่านจะต้องพยายาม รักษาจิตใจให้สอาด อยาคิดอะไรให้ตัวเองเป็นทุกข์ อย่าอยากได้อยากเป็นอะไรจนเกินพอดี อย่าถือตัว อย่าถือทิฏฐิมานะ รักษาจิตให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ จงน้อมจิตให้มองเห็นสภาวะที่สงบ และสอาดอยู่เสมอ  วิธีนี้จะทำให้จิตใจสงบเย็น ผ่องใส และไม่เดือดร้อนได้เป็นอย่างดีที่สุด

๒๙.  จงตั้งใจว่า แม้ท่านจะออกมาจากนั่งสมาธิแล้ว แต่ท่านก็จะรักษาจิตใจให้สอาดผ่องใสและไม่ถือมั่น ไม่แบกเอาสิ่งต่าง ๆ มาไว้ในใจให้หนักใจเปล่า ๆ  ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สมาธิเกิดอยู่ในจิตตลอดเวลา

๓๐.  จะคิดเรื่องอะไรก็จงคิดด้วยปัญญา คิดเพื่อที่จะทำให้เกิดความถูกต้อง คิดเพื่อจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายให้พวกเขาได้รับความสุขสงบในชิวิต คิดเพื่อจะทำหน้าที่ของท่านให้ดีที่สุด คิดจะทำตนเองและคนอื่น สัตว์อื่นมีความสุขและไม่มีทุกข์อยู่เสมอ

จบตอนที่ ๓ ของคู่มือดับทุกข์
จาก ณัฐนันท์ วังวีระนุสรณ์
http://nuttanun-wung.com/

๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น