วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

๔ สารพิษในบ้าน

สวัสดีครับ พบกับบทความใหม่ใน Better Life Blog 
 นำเสนอสิ่งดี ๆ สู่ชีวิต ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ



๔  สารพิษในบ้าน  อันตรายใกล้ตัว (สุดๆ)

      หลายๆ ฅนอาจจะยังไม่รู้ว่า  ในบ้านอันแสนอบอุ่นของคุณนั่นแหละ  ที่มีภัยเงียบจากสารเคมีนานาขนิดตกค้างอยู่  ไม่ว่าจะเป็นอาหาร  ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆ ในบ้าน  ฝุ่นละออง ฯลฯ

     เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ นะ  มลพิษจากอากาศภายในอาคารและบ้านเรือนริมถนน  เป็นต้นเหตุสำคัญของโรคทางเดินหายใจ  โรคปอด  และโรคมะเร็ง  ที่ทำให้คนตายรวมกันไม่น้อยกว่าปีละ  ๒  ล้านคน

      มีอะไรบ้างที่เสี่ยง...

๑.    ฟอร์มาลดีไฮด์  เจ้าสารชนิดนี้เป็นแก๊สไม่มีสี  แต่มีกลิ่นฉุน  เป็นสารประกอบของฟอร์มาลินที่ใช้ดองศพ  ถ้ามีสารนี้  เราจะสังเกตง่ายๆ  ก็คือ  เราจะรู้สึกแสบตา  มึนหัว  หายใจอึดอัด


ภายในบ้านจะพบได้ในเฟอร์นิเจอร์ที่มีส่วนประกอบของไม้อัด  สารต้านเชื้อราในกาวลาเท็กซ์ที่ใช้ประกอบเครื่องเรือน  แล็กเกอร์เคลือบไม้  พรมปูพื้น  สีทาบ้าน  วอลล์เปเปอร์  ผ้าม่าน  ผ้าปูที่นอน  ผ้าหุ้มเบาะ  โซฟา  และเสื้อผ้าประเภทยับยาก  ฟอร์มาดีไฮด์  ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสารก่อมะเร็ง  ซึ่งฅนในบ้านเสี่ยงเมื่อสัมผัส

๒.    น้ำยาทำความสะอาด   เครื่องครัวบางชนิดมีโซดาไฟเป็นส่วนประกอบซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อ  เป็นพิษต่อร่างกาย   สารเคมีที่ใช้ในการขจัดสิ่งอุดตันในท่อน้ำทิ้ง  มักเป็นสารอันตรายที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง  ต้องหลีกเลี่ยงสุดกลิ่นเหล่านี้  เพราะมีอันตรายรุนแรง  น้ำยาทำความสะอาดพื้นบ้าน  คือ  สารกลุ่มอัลคิล ฟีนอล อีธอกไซเลต  ที่มีรายงานความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของสาร NPE  หากสูดดม  หรือสัมผัสในปริมาณความเข้มข้นสูง  จะทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ  ทางเดินอาหาร  ตา  และผิวหนังอย่างรุนแรง



๓.    มันมากับความหอม  ในบ้านมีผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม  แต่กลิ่นหอมที่ว่านี้  มักมีอันตรายแฝงมาเสมอ  เริ่มจาก  สบู่เหลวกลิ่นต่างๆ  ความหอมลมุลในช่วงเวลาที่อาบน้ำ  จะเต็มไปด้วยสารเคมีสังเคราะห์ทีใช้ผสม มาเป็น *สบู่เหลวเทียม*  ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวแพ้ง่าย  จนถึงขั้นเสี่ยงต่อมะเร็งในระยะยาว

บางประเทศเขาห้าม หรือประกาศเตือนกันแล้ว  แต่ไม่รู้ในบ้านเรายังมีการใช้สาร SLS (Sodium Lauryl Sulfate) และ  PEG (Polyethylene Glycol) กันหรือเปล่า

ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นในห้องน้ำ  เมื่อสูดกลิ่นเข้าไป  อันตรายอย่างแน่นอน  แต่ที่มากกว่านั้น ก็คือการสัมผัสสารเหล่านี้บ่อยๆ  จะทำให้เกิดอาการคัน ระคายต่อผิวหนัง  คลื่นใส้  อาเจียน รวมทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็ง

       น้ำยาซักผ้า  น้ำยาปรับผ้านุ่ม  น้ำยาซักแห้ง  อโรมาเธอราปี  ซึ่งบางคนอาจจะแพ้ ต้องรู้จักสังเกตเลี่ยงการใช้  ก่อนที่จะสะสมพิษในระยะยาว

ที่สำคัญ  กลิ่นหอมระเหยของผลิตภัณฑ์เหล่านี้  ไม่ได้ทำให้อากาศในบ้านหอมขึ้น  แต่จะไป
กลบกลิ่นเหม็นหรือ หรือกลิ่นอับอื่นๆ   การเปิดห้องให้อากาศถ่ายเทน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า


๔.    อันตรายจากเทคโนโลยี    โทรทัศน์  คอมพิวเตอร์  ไมโครเวฟ  โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ  มีสารอันตรายปะปนอยู่ด้วยเสมอ  ได้แก่  ตะกั่ว  ปรอท  แคดเมียม ฯลฯ  สารพิษนานาชนิดเหล่านี้จะถูกปล่อยออกมาปะปนในอากาศ  ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรค เช่น  โรคภูมิแพ้  หอบหืด  ระคายเคือง  ไซนัส  อ่นเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ  ปวดต้นคอ  ปวดศรีษะ  เป็นต้น

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กท.สาธาณสุข  ได้จำแนกสารอันตรายในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น

ตะกั่ว  เป็นส่วนประกอบในการบัดกรีแผ่นวงจรพิมพ์  หลอดภาพรังสีแคโทด (CRT)  ผลกระทบจะทำลายระบบประสาท  ระบบโลหิต  โดยเฉพาะเด็กจะมีผลกระต่อพัฒนาการสมอง  เนื่องจากเด็กสามารถดูดซึมตะกั่วได้มากกว่าผู้ใหญ่ ๕ เท่า

แคดเมียม  มักพบในแผ่นวงจรพิมพ์  ตัวต้านทานแบตเตอรี่แบบชาร์จได้  ซึ่งสารเหล่านี้จะสะสมในร่างกาย  ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ไต และกระดูก  ทำลายระบบประสาท  ส่งผลต่อการพัฒนาการ และการมีบุตร

ปรอท  มักพบในตัวตัดความร้อน  สวิตซ์  และอุปกรณ์ให้แสงสว่างในจอภาพแบบเแน  หากปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำ  จะสะสมต่อไปในห่วงโซ่อาหาร  ส่งผลต่อสมอง  ไต  และ อวัยวะต่างๆ  และเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง

นอกจากนี้  ยังมีอันตรายจากสารพิษอื่น ๆ ที่แฝงอยู่ในบ้าน  จำเป็นที่ต้องระมัดระวัง  โดยหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติให้มากขึ้น  เพราะอันตรายจากสารพิษเหล่านี้  ไม่ได้เกิดเพียงชั่วข้ามคืน  ที่สำคัญยังมองไม่เห็น  การป้องกันก่อนเกิดจึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ที่มา  :  บ้านปลอดสารพิษ  ชีวิตปลอดภัย
โดย  ผศ.ดร.พูลสุข  ปรัชญานุสรณ์  สนพ.มติชน

คัดลอกจาก :  คอลัมภ์ สรรหามาขยายนิตยสารสุขภาพ เครือ มติชน
                   ปีที่  ๗  ฉบับที่  ๗๒  กันยายน  ๒๕๕๖

@Nuttanun Wung
 เซียงเงี๊ยบฮ้อ ๐๖

http://bit.ly/เซียงเงี๊ยบฮ้อ
http://bit.ly/ศิษย์เก่าพณิชยการพระนคร
http://facebook.com/lagone8888
http://twitter.com/NuttanunWung



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น