วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554





สวัสดีครับ พบกับบทความใหม่ใน Better Life Blog 
 นำเสนอสิ่งดี ๆ สู่ชีวิต ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ


* โยคะ * ดีต่อจิตใจ และสุขภาพ

กระแสการตื่นตัวในเรื่องโยคะที่โหมในห้วงเวลา ๒ - ๓ ปีที่ผ่านมา  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้คนหันมารักตนเอง ห่วงใยสุขภาพ และสนใจในเรื่องธรรมชาติบำบัดมากขึ้น  ซึ่งโยคะก็เป็นศาสตร์ที่ใช้ธรรมชาติบำบัดโดยตรง  เพราะโยคะ คือ การมองปัญหาที่เกิดกับสุขภาพของมนุษย์อย่างองค์รวมไม่แยกเป็นส่วน ๆ เหมือนกับการแพทย์แผนปัจจุบัน  โยคะจึงไม่ใช่แค่ทำให้ร่างกายแข็งแรง  มีภูมิต้านทานป้องกันโรคภัยใข้เจ็บ แต่โยคะยังดูแลถึงจิตใจ

ประโยชน์ของโยคะมีมากมายหลายด้าน เช่น ทางร่างกาย โดยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและผ่อนคลาย ยึดหยุ่น ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวสง่างาม ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความสมดุล ประโยชน์
ทางด้านจิตใจ  เมื่อฝึกโยคะจะทำให้จิตใจเคลื่อนไหวน้อยลง  การพัฒนาจิตก็จะดีขึ้น ทำให้รู้จักตัวเอง จิตสงบและเยือกเย็น เกิดความแจ่มใสไม่ฟุ้งฤซ่าน ผ่อนคลายความตึงเครียดอันเกิดจากชีวิตประจำวัน

ขณะที่ประโยชนทางพลังงานก็มีไม่แพ้กัน  เพราะอาสนะยึดหลักการสงวนพลังงาน  ไม่ใช่การโหมออกแรงแบบการออกกำลังกาย และไม่ได้ใช้แรงจากกล้ามเนื้อแขน ขา มาก จึงไม่เกิดกรดแลคติค ที่ส่งผลให้เกิดความเมื่อยหล้าหลังฝึก และทำให้พลังงานที่หยุดนิ่งในร่างกายของเราได้เคลื่อนไหว ไหลเวียนไปสู่ทุกส่วนของร่างกายได้สดวกยิ่งขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญโยคะ แนะสำหรับมือใหม่หัดเล่นโยคะว่า หลักของโยคะข้อหนึ่งก็คือ ปราณายาม ซึ่่งหมายถึงการพัฒนาร่างกายเพื่อเอาประโยชน์จากอากาศให้ดีที่สุด แต่ในการฝึกใหม่ ๆ ให้คำนึงถึงท่าที่ถูกต้องเสียก่อน อย่ากังวลกับการหายใจ

เรื่องการหายใจ  ให้ฝึกการหายใจโดยใช้หน้าท้องและทรวงอก  หายใจเข้าท้องป่อง  หายใจออกท้องแฟบ ห้ามกลั้นหายใจระหว่างการฝึก และต้องหายใจทางจมูก ไม่ควรหายใจทางปาก   ฝึกหายใจเข้าออกยาว ๆ ลึก ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนให้ได้มากที่สุด


เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจ และเพื่อเป็นการผ่อนจิตใจและร่างกาย ผู้ฝึกควรเรียนรู้เทคนิค
การหายใจด้วยหน้าท้อง Breath Awareness Technique ง่าย ๆ ดังนี้ 


๑.  เฝ้าสังเกตุ มีสติกำหนด รู้กับลมหายใจ จากนั้นเพิ่มการมีสติกำหนดรู้กับการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง  สังเกตุลมหายใจของเราที่ผ่อนช้าลง สงบลง ลมหายใจจากหยาบมาเป็นลมหายใจละเอียด

๒.  ฝึกการหายใจสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง  ผ่อนลมสูดลมหายใจเข้า  ให้หน้าท้องพองขึ้้น หายใจออก ให้หน้าท้องแฟบลง  มีสติกำหนดรู้อยู่กับลมหายใจ ที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนขึ้นลงของหน้าท้อง  พยายามดึงช่วงเวลาของลมหายใจออก ให้นานกว่าช่วงเวลาลมหายใจเข้า

๓.  มีสติกำหนดรู้กับความสงบ มีสติกำหนดรู้ขณะที่ผ่อนลมหายใจออกจนสุด  เฝ้าสังเกตุห้วงขณะที่เราหยุดหายใจ  ซึ่งเป็นช่วงที่เราหายใจออกหมดแล้ว แต่การหายใจเข้ายังไม่เกิดขึ้น  โดยไม่ได้ตั้งใจกลั้นลมหายใจ  กำหนดรู้อยู่กับห้วงขณะที่ร่างกายไม่หายใจที่ว่านี้  อันเป็นห้วง ขณะที่กายนิ่ง ลมหายใจหยุด และจิตสงบ คอยมีสติระลึกถึงห้วงเวลาที่จิตสงบ ตลอดทั้งวัน

บทความ นสพ.โพสต์ทูเดย์ ไกด์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔

คัดลอกโดย : ณัฐนันท์ วัง
๑๕/๑๒/๒๕๕๔  ๑๓.๐๐ น.

http://bit.ly/Bkk06-Club
http://bit.ly/BetterLifeBlog
http://bit.ly/NuttanunPage
http://nutw.wordpress.com
http://facebook.com/lagone8888
http://twitter.com/NuttanunWung

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น