วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฏฐาน ๔)

สวัสดีครับ พบกับบทความใหม่ใน Better Life Blog 
 นำเสนอสิ่งดี ๆ สู่ชีวิต ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

พระธาตุลำปางหลวง เกาะคา ลำปาง
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฏฐาน ๔) พุทธามหาสติ ภาคปฏิบัติ

ข้อที่ ๗  สติปัฏฐาน ๔

        การเกิดของสติในชีวิต  สามารถเกิดขึ้นได้ในฐานที่ตั้ง ๔ แห่ง  คือ กาย  เวทนา  จิต  และธรรม
สติจะเกิดบนฐานใดไม่มีผู้ใดบังคับได้  คำว่า  สติปัฏฐาน  หมายถึง  ที่ตั้งแห่งสติ

        ๑.  เมื่อสติเกิดขึ้นที่กาย  เรียกว่า  กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
        ๒.  เมื่อสติตั้งอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งพอใจและไม่พอใจ  เรียกว่า  เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
        ๓.  เมื่อสติตั้งมั่นรอยู่กับความนึกคิดไตร่ตรอง เรียกว่า  จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
        ๔.  เมื่อสติเกิดขึ้นในธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับทั้งรูปและนาม เช่น  เย็น  ร้อน  อ่อน  แข็ง  หย่อน ตึง         
              ฟุ้งซ๋าน  ง่วงเหงาหาวนอน   คัน  เป็นต้น  ล้วนเป็นธรรมชาติที่ไม่มีใครบังคับได้  เรียกว่า  
              ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

        สรุปได้ว่า  ชีวิตเรามีฐานที่ตั้งแห่งสติเพียง ๔ แห่งเท่านั้น  เรียกว่า  สติปัฏฐาน ๔  การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง  ต้องถึงพร้อมไปด้วยองค์ธรรม ๓ ประการ  คือ สติมา สัมปชาโน อาตาปี  หมายความว่า  มึการระลึกรู้ว่าอะไรเกิดขึ้น เมื่อรู้แล้วใชัปัญญาตัดออกไปให้พ้นต้วเรา  และต้องมีความพยายามมุ่งมั่น  ในการทำลายตัวกิเลสตัณหาที่แทรกเข้ามาในชีวิตเราตลอดเวลา โดยไม่มีการหยุดพัก

ข้อที่ ๘  ภูมิวิปัสสนา

        วิปัสสนากรรมฐาน คือ การสร้างความสันทัดให้แก่ตัวเอง  ในการพิจารณาธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบตัวเองไดเอน้่งถูกต้อง เรียกว่า  โยนิโสมนสิการ  ได้แก่  การมีสติตามรู้อาราณ์ที่เกิดขึ้น  และมีปัญญตัดสินว่า  มีอะไรเกิดขึ้นได้ถูกต้องตรงความเป็นจริง  ผู้ใดต้องการมีโยนิโสมนสิการ  จำเป็นต้องเรีัยนรู้สิ่งที่เรียกว่า  ภูมิวิปัสสนา  ให้แม่นยำ  เมื่อมีสติตั้งอยู่ในปัจจุบัน  ระลึกรู้ว่า  อะไรเกิดขึ้น  ทางกาย  เวทนา  จิต  ธรรม  เช่น

        ๑.  อิริยาบถหลัก  ได้แก่  การเดิน  ยืน  นั่ง  นอน  อิริยาบทเหล่านี้เป็นรูป ให้กำหนดรูปเดิน  รูปยืน   รูปนั่ง  รูปนอน  ให้ทำลายความรู้สึกว่า  ฉันเดิน  ฉันยืน  ฉันนั่ง  ฉันนอน  เป็นการทำลายสักกายทิฏฐิ

        ๒.  เมื่อมีการเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง  เฉยๆ บ้าง  เมื่ออาราณ์เข้ามากระทบ
 (ผัสสะ)  ถ้าพอใจก็เป็นสุข ถ้าไม่พอใจก็เป็นทุกข์  มีความรู้สึกว่า เป็น ฉัน  ตลอดเวลา  เราต้งกำหนด  นามรู้สึก ไม่ใช่เรารู้สึก  การเสวยอาราณ์อื่นๆ เช่น รู้สึกทุกข์ เจ็บปวด เมื่อย รัก เกลียด ชอบ ชัง  ล้วนเป็นธรรมชาติของสติืั้เกิดในเวทนาให้กำหนดตามอาการที่รู้สึก เช่น นามทุกข์ นามปวด เป็นต้น

        ๓.  จิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ทุกเรื่อง  เมื่อจิตรู้อารมณ์ ในปัจจุบัน  อดีต  และอนาคต  ผู้มีปัญญาจะมีสติระลึกได้ทันทีว่า นามรู้ ไม่ใช่เรารู้

        ๔.  ความเย็น  ร้อน  อ่อน  แข็ง  หย่อน  ตึง  ฟุ้งซ่าน ง่วงนอน  ล้วนเป็นธรรมชาติทั้งสิ้น  เช่น  ความร้อนเกิดขึ้น  ให้กำหนดรูปร้อน  ไม่ใช่เราร้อน  หรือเวลามีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ให้กำหนดนามฟุ้งซ่าน ไม่ใช่เราฟุ้งซ่าน เป็นต้น.

๙.  วิปัสสนา คือ ทางแห่งปัญญา

        มีคำถามว่า  การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ควรกระทำเมื่อใด นานเท่าไร  คำตอบ คือ การปฏิบัตธรรมให้ได้ผล  ต้องปฏิบัติให้ได้ทุกอิริยาบท  ทุกครั้งที่มีสติระลึกรู้  วิปัสสนา  ไม่ใช่การทำสมาธิที่สามารถเลือกที่ปฏิบัติ และกำหนดเวลาได้ตายตัว  สนามประลองอาราณ์เพื่อฝึกความไวของสติ  คือ  ชีวิตประจำวันของเราทุกรูปทุกนาม  ซึ่งมี โลภะ โทสะ  โมหะ  เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอดเวลา  

หลักการฝึกวิปัสสนา จำเป็นต้องถึงพร้อมสติ และปัญญา  เพราะปัญญาเกิดขึ้นโดดเดี่ยวไม่ได้  สติจึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา  การฝึกสติจนเป็นมหาสติ จึงเป็นอารมณ์สูงสุดของผู้เจริญในธรรม  เพื่อนำชีวิตไปสู่มรรคผลนิพพานได้นั่นเอง....

โปรดคอยติดตามบทความต่อไป    วิธีการเจริญวิปัสสนา (การดูจิต)

*การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก  เมื่อได้เป็นมนุษย์แล้ว  และยังได้เข้าถึงพระพุทธศาสนา ยิ่งยากมากขึ้นไปอีก  แต่การได้เป็นทั้งมนุษย์ ได้เข้าถึงพระพุทธศาสนา และได้รับฟังธรรมจากพระสาวกที่เป็นเลิศในทางปัญญา  นับเป็นยอดแห่งอานิสงส์สูงสุดที่มนุษย์คนใดจะพึงได้รับในชาตินี้*
 
คัดลอกจากหนังสือ  พุทธามหาสติ ภาคปฏิบัติ


              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น