วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พุทธามหาสติ ภาคปฏิบัติ

สวัสดีครับ พบกับบทความใหม่ใน Better Life Blog นำเสนอสิ่งดี ๆ สู่ชีวิต ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ


พระประธานวัดพระธาตุช่อแฮ แพร่

                                         
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฏฐาน ๔) The Four Basic Foundations of Mindfulness


๓.  ความพ้นทุกข์

          ความพ้นทุกข์พึงทำได้โดยการดับตัณหาให้ได้โดยไม่เหลือเชื้อ  เป็นการพ้นทุกข์โดยเด็ดขาด  ซึ่งเป็นผลจากการปฏิธรรมชั้นสูง  นิโรธเป็นความดับตัณหา  ทำให้ไม่มีทุกข์อีกต่อไป  ส่วนพระนิพพานคือ  ความหมดสิ้นกิเลส  นิพพานนัง  ปรมัง  สุญญัง  แปลว่า  พระนิพพานเป็นสภาวะที่หมดสิ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิง  จึงทำให้เกิด  นิพพานนัง  ปรมัง  สุขัง  แปลว่า  พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง  เป็นความสุขอันสถาพร  พระพุทธาภาษิตที่ได้ยกมากล่าวนี้  จึงเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน

๔.  ทางดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์

          ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทด  แปลว่า  ทางสายกลางเพื่อ ทำลายอภิชาฌา และโทมนัส  ให้ทัะศนะและปัญญาอันนำไปสู่ความสงบ  ญาณการตรัสรู้ และ พระนิพพาน ซึ่งมีองค์อันประเสริฐ ๘ ประการ (มรรค ๘ )

จบขัอที่ ๓ - ๔ ของจำนวน ๙ ข้อ (กรุณาคอยอ่านข้อที่ ๕ )

คัดลอกจากหนังสือ  พุทธามหาสติ (ภาคปฏิบัติ)

จัดพิมพ์ โดย :
@NuttanunWung

http://nuttanunwung.blogspot.com
http://twitter.com/NuttanunWung
http://tinyurl.com/nuttanunpages
http://nuttanun-wung.com


  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น