วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สมุนไพร กับ *โรคเบาหวาน*

สวัสดีครับ พบกับบทความใหม่ใน Better Life Blog 
 นำเสนอสิ่งดี ๆ สู่ชีวิต ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ




สมุนไพร กับ *โรคเบาหวาน*

      เบาหวาน  คือ  ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ (ตั้งแต่ ๑๒๖ มก./ดล.)  เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำจ้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ  ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อน  ปล่อยฮอร์โมนที่เรียกว่า *อินซูลิน*  ออกมาไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย  ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นพลังงาน  เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่เพียงพอ  น้ำตาลก็ไม่ถูกนำมาใช้  ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ  และถูกไตขับออกมาทางปัสสาวะ

      โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง  รักษาไม่หายขาด  แต่สามารถควบคุมได้  โดยการควบคุมอาหาร  ออกกำลังกายและการใช้ยา

      ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน  ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ หรือใกล้เคียง  เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนได้  เช่น  หมดสติ จากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง  ต้อกระจก  
ไตวาย เป็นต้น

      ปัจจุบันสมุนไพร  ได้เข้ามามีบทบาทในการรักษาและควบคุมความรุนแรงของโรค  ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของคนไทยพลายโรค  เบาหวานก็เป็นอึกโรคหนึ่งที่สามารถใช้สมุนไพรช่วยในการควบคุม  ความรุนแรงของโรคได้   เช่น :

มะระขี้นก 




ชื่อวิทยาศาสตร์  Momordicacharantia (L.) ชื่อพื้นบ้าน ผักไห่  มะไห่  ผักไห  โควกวย  มะระเล็ก
ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านไทย  คนไทยทุกภาค นำยอดอ่อน และผลอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร  โดยนำมาลวกเป็นผักจิ้ม  นำไปผัด หรือแกงร่วมกับผักอื่น  โดยลวกน้ำ และเทน้ำทิ้งก่อนเพื่อลดความขม  มีวิตามิน เอ และ ซี สูง


จากรายงานการศึกษาวิจัย  มะระขี้นก (สีเขียว)  มีคุณค่าทางอาหารเพราะมีวิตามิน A (๒,๙๒๔ IU) ไนอะชิน (๑๙๐ mg/๑๐๐ g.) และมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ  งานวิจัยฯ ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องมรตั้งแต่ คศ. ๑๙๖๒  ซึ่งได้ค้นพบชาแรนตินในผลมะระขี้นก  ที่แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดสัตว์ทดลอง  และจากผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (๘ ฅน) พบว่าผู้ป่วยทนต่อกลูโคสได้ดีขึ้น  ลดระดับน้ำตาลขณะอิ่ม และลดความถี่ของการถ่ายปัสสาวะ

จึงขอแนะน้ำผู้ป่วยเบาหวานบริโภคมะระขี้นกเป็นอาหาร หรือในรูปน้ำคั้นเป็นอาหารเสริม

การเตรียมน้ำคั้นจากผลระระขี้นก

      มะระผลสด ๑๐๐ กรัม (๔-๖ ผล) ผ่าครึ่ง  ขูดใส้ในและเมล็ดออก  หั่นเป็นชิ้นเล็ก เข้าเครื่องปั่นแยกกากได้น้ำมะระประมาษ ๔๐ มล.

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ  การกินเมล็ดของมะระขี้นก  อาจจะทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ  เป็นไข้  ปวดท้องได้

ผักตำลึง  



      ชื่อวิทยาศาสตร์  Coccinia  grandis (L.) Voigt,  Coccinia cordifolia Gagnep  ชื่อพื้นบ้าน
ผักแคบ   แคเต๊าะ  ผักตำนิน  นิยมนำมาลวก  นึ่ง  เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือ นำยอดใบอ่อนมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย แกงจืด  แกงเลียง  ใส่ก๊วยเตี๋ยว  ผัดน้ำมัน  แกงแค  แกงปลาแห้ง  ผลอ่อนนำมานึ่ง หรือดองกินกับน้ำพริกได้ ผลอ่อนที่ก้านดอกเริ่มจะหลุด กินสดได้กรอบอร่อย ไม่ขม  ผลอ่อนที่ยังหนุ่มๆ อยู่ จะมีรสขมต้องคั้นน้ำเกลือ ให้หายขมก่อนนำมาแกง

      จากผลการวิจัยฯ  พบว่า ตำลึงและโสมอเมริกัน  เป็นพืชที่มีข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้  นอกจากนี้ตำลึง ยังมีประโยชน์อีกมกามาย เช่น

ดับพิษร้อน
แก้พิษคัน  จากใบคัน หรือ หนอนคัน  โดนนำใบตำลึงสดสัก ๔-๕ ใบมาขยี้  ทาบริเวณที่คัน
ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้ง  และกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำใส้  ยอด  เถา  ใบ  และราก  ตำคั้น        น้ำดื่ม แก้หลอดลมอักเสบ  เจ็บลิ้น  ลิ้นเป็นแผล  ให้เคี้ยวผลตำลึงอ่อน

      ตำลึงเป็นผักที่หาง่าย  มีทุกฤดูกาล  นำมาเป็นเมนูอาหาร ได้หลากหลาย เช่น ต้มเลือดหมูตำลึง  เพื่อเสริมธาตุเหล็ก จากเลือดหมู และตำลึง  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน

      การนำสมุนไพรมาใช้ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด  ต้องศึกษาข้อมูลอย่างถูกต้อง  ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีการใช้สมุนไพรในการรักษา  ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องไปตรวจร่างกายเป็นประจำ และพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง  เพื่อดูระดับน้ำตาล  และเพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยาที่รับประทานประจำ ร่วมกับสมุนไพร  เพราะถ้าออกฤทธิ์เสริมกันอาจจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ จเกิดอันตรายได้

คัดลอกจาก :  
วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย  กทม. ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓  เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๖ ISSN : 2229-0540

@Nuttanun Wung
 เซียงเงี๊ยบฮ้อ ๐๖

http://bit.ly/เซียงเงี๊ยบฮ้อ
http://bit.ly/ศิษย์เก่าพณิชยการพระนคร
http://facebook.com/lagone8888
http://twitter.com/NuttanunWung


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น