วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

คู่มือดับทุกข์ ฉบับสมบูรณ์ โดย อิสระ


หลวงพ่อโต วัดไชโย อ่างทอง
 
สัพพะทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ
การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทานทั้งปวง

สุขะโต      สุขะทานัง
ให้สุขแก่ท่าน  สุขนั้นถึงตน

บทความทั้งหมดนี้ คัดลอกจากหนังสือ
"คู่มือดับทุกข์ ฉบับสมบูรณ์" โดย  ท่านอิสระ

พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน   บรรณาการโดยทุนของ.--

      คุณพินิจ-คุณกิมเอ็ง  แพ่งเกษร และลูก ๆ หลาน ๆ
      ครอบครัว  ร้านน้องเปิ้ล และพนักงาน
      ปั้มเชลล์อินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

ข้าพเจ้า นายณัฐนันท์  วังวีระนุสรณ์
ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นทานแก่บุคคลทั่วไป

๑.    จงประพฤติศิล ๕ ให้สมบูรณ์  ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิด ไม่ขโมยสิ่งของ ๆ ใคร  ไม่ประพฤติผิดในกาม  ไม่โกหกหลอกลวงใคร และไมดื่มหรือเสพสิ่งเสพติดมึนเมา

๒.    แบ่งเวลาในแต่ละวันให้พอเหมาะพอดีแก่สภาพชีวิตของตัวเอง  มีเวลาเพียงพอ  มีเวลาพักผ่อน เพลิดเพลินในครอบครัวตามสมควร สำหรับผู้ที่เป็นฆราวาส  และมีเวลาฝึกสมาธิเพื่อทำจิตให้สงบ

๓.    ในการฝึกสมาธินั้น  ให้นั่งอยู่อย่างสงบสำรวม อย่าเคลื่อนไหวอวัยวะมือเท้า จะนั้งอยู่กับพื้น เอาขาทับขาข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ หรือจะนั่งบนเก้าอื้ตามสบายก็ได้ ไม่มีปัญหา

๔.    วิธีการฝึกสมาธินั้น  ขอให้เข้าใจว่า ท่านจะทำจิตให้สงบ ปราศจากความคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องภายนอกทุกอย่างชั่วระยะเวลาที่ทำสมาธินั้น  ท่านจะไม่ปรารถนาที่จะพบเห็นรูป สี แสง เสียง สวรรค์นรก หรือเทวดาอินทร์พรหมที่ใหน  เพราะสมาธิที่แท้จะมีแต่จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ และสงบเย็นเท่านั้น


๕.    พอเริ่มทำสมาธิโดยปกติแล้วให้หลับตาพอสบาย สำรวมจิตเข้านับที่ลมหายใจ ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก โดยอาจจะนับ  หายใจเข้านับ ๑ หายใจออกนับ ๒ อย่างนี้เรื่อยไป ทีแรกนับช้า ๆ เพื่อให้สติต่อเนื่องอยู่กับการนับนั้น  แต่ต่อไปพอจิตสงบเข้าที่แล้ว  มันก็จะหยุดนับของมันเอง



๖.    หรือบางทีอาจจะกำหนดพุทโธก็ได้  หายใจเข้ากำหนด พุท  หายใจออกกำหนด โธ  ไม่ขัดแย้งกันเลย  เพราะการนับอย่างนี้ก็เป็นเพียวอุบายที่จะทำให้จิตหยุดคิดนึกปรุงแต่งเท่านั้น


๗.    แต่ในการฝึกแรก ๆ ท่านจะยังนับ หรือกำหนดไม่ได้อย่างสม่ำเสมอ หรืออย่างตลอดรอดฝั่ง เพราะมันมักจะมีความคิดต่าง ๆ แทรกเข้ามาในจิต  ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ช่างมัน ให้เข้าใจว่า ฝึกแรก ๆ มันก็เป็นอย่างนี้เอง แต่ให้ท่ารนตั้งนาฬิกาเอาไว้ตามเวลาที่พอใจ ว่าจะทำสมาธินานเท่าไร เริ่มแรกอาจจะทำสัก ๑๕ นาที ก็ได้ และให้เฝ้านับหรือกำหนดอยู่จนครบเวลาที่ตั้งไว้ จิตมันจะมีความคิดมากหรือน้อย ก็ช่างมัน  ให้พยายามกำหนดนับตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา  ไม่นานนัก จิตมันก็จะหยุดคิดและสงบได้ของมันเอง


๘.    การฝึกสมาธินี้ให้พยายามทำทุกวัน ๆ วันละ ๒-๓ ครั้ง แรก ๆ ให้ทำครั้งละ ๑๕ นาที แล้วจึงค่อยเพิ่มมากขึ้น ๆ จนถึงครั้งละ ๑ ชั่วโมง หรือมากกว่าานั้น ตามที่ปรารถนา


๙.    ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ท่านก็จะรู้สึกว่า จิตนั้นสอาด สงบเย็น ผ่องใส ไม่หงุดหงิด ไม่หลับไหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใดนั่นแหละคือสัญญลักษณ์ที่แสดงว่า  สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิต  


๑๐.   เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว  อย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย  ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อจะพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ต่อไป ถ้ามีปัญหาชีวิต หรือปัญหาใด ๆ ที่กำลังท่ำให้ท่านเป็นทุกข์กลัดกกลุ้มอยู่  ก็จงน้อมจิตเข้าไปคิดนึกพิจารณาปัญหา ด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ 


จบตอนที่ ๑ จำนวน ๑๐ ข้อ จาก ๑๐๕ ข้อ ตอนที่ ๒ จะนำมาเผยแพร่ต่อไปครับ 

พิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการ
โดยนายณัฐนันท์  วังวีระนุสรณ์
http://nuttanun-wung.com/
๖  มกราคม  ๒๕๕๓


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น